สื่อการเรียนวิชา GenEd Chula

(สำหรับนิสิตจุฬาฯที่ลงทะเบียนผ่าน Reg Chula) รายวิชาในหลักสูตรนี้ เป็นสื่อใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบ Blended Learning เรียนผสมผสานทั้งในห้องเรียนและเรียนออนไลน์เรียนรู้ด้วยตนเองวยตนเองใน CUNeuron ตามที่หลักสูตรและรายวิชากำหนด

3600204 Health Sexuality เพศศาสตร์สุขภาพ

1. ผศ.ดร.รัชนีกร อุปเสน 2. ผศ.ดร.สุนทรีภรณ์ มีพริ้ง 3. อ. ภาวิณี ซ้ายกลาง

มีสุขภาวะที่ดี

เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อและวัฒนธรรมในเรื่องเพศ บทบาทหญิง ชาย กำเนิดของชีวิต การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศ ทฤษฎีเพศศาสตร์ ความเบี่ยงเบนและความผิดปกติ ทางเพศ และสามารถป้องกันตนเองจากโรคและปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และวางแผนชีวิตสมรสของตนได้

การดูแลในภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ

ผศ. ร.ต.ต.(ญ) ดร.ปชาณัฎฐ์ นันไทยทวีกุล

มีสุขภาวะที่ดี

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลในภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน การวิเคราะห์ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบ แนวทางการป้องกัน วิธีการปฏิบัติและการดูแลที่ถูกต้องทั้งก่อนและขณะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แนวทางการจัดการที่ได้มาตรฐานเพื่อรองรับภัยพิบัติและการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมเมื่อเกิดเหตุการณ์

Tobacco Alcohol and Health

ผศ. ดร.สุนิดา ปรีชาวงษ์

มีสุขภาวะที่ดี

สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พิษภัยของบุหรี่ ผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่น ๆ และสุราต่อสุขภาพ โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และการได้รับควันบุหรี่ ผลกระทบจากการดื่มสุรา การป้องกัน ปัญหาจากการสูบบุหรี่และดื่มสุรา แนวทางปฏิบัติเพื่อเลิกบุหรี่และดื่มสุรา การดูแลช่วยเหลือผู้ที่เลิกสูบบุหรี่และดื่มสุรา ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากพิษภัยบุหรี่และสุรา กลยุทธของอุตสาหกรรมบุหรี่และสุรา มาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดำรงชีวิตอย่างผาสุก

มีสุขภาวะที่ดี

ความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้สุคนธบำบัด

ผศ. ดร.ศุภกาญจน์ ชำนิ

มีสุขภาวะที่ดี

การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยใช้ความรู้แพทย์แผนไทยและอายุรเวท ความรู้พื้นฐานของสุคนธบำบัด การประยุกต์ใช้น้ำมันระเหย แหล่งที่มา วิธีการเตรียมน้ำมันระเหย การนำสุคนธบำบัดไปใช้เพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

ยากับชีวิตประจำวัน

คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีสุขภาวะที่ดี

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยา วิธีการบริหารยา รูปแบบของยา อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การประเมินความน่าเชื่อถือของสารสนเทศด้านยา

การเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์ปลาสวยงาม

ผศ. ดร.กรณ์รวี เอี่ยมสมบูรณ์

นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

หลักการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเบื้องต้น การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามที่เกี่ยวเนื่องกับการเพาะพันธุ์ โภชนาการ คุณภาพน้ำ และการจัดการฟาร์ม โรคปลาและการรักษา การพัฒนาพันธุ์ปลาท้องถิ่นและการเพาะเลี้ยงเพื่อการอนุรักษ์ การจัดตู้ปลาและพรรณไม้น้ำ แผนธุรกิจและการพัฒนาแบรนด์สัตว์น้ำสวยงามเพื่อการส่งออก การศึกษาภาคสนามและการนำเสนอผลการศึกษา

3800101 General Psychology จิตวิทยาทั่วไป

คณาจารย์คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีสุขภาวะที่ดี

ข้อมูลและวิธีการจิตวิทยา พื้นฐานชีวภาพของพฤติกรรม การรู้สึก การรับรู้ การเรียนรู้ การจำ การคิด การตัดสินใจ แรงผลักดันพฤติกรรม การกล่อมเกลาบุคลิกภาพ พฤติกรรมเบี่ยงเบน การบำบัดและการควบคุมพฤติกรรมเบี่ยงเบน

0296110 มนุษย์กับนิเวศวิถีในบริบทโลกาภิวัฒน์

ร​ศ. ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร

พลเมืองที่ดีของสังคมโลก

การอ่านวรรณกรรมและวัฒนธรรมสีเขียวเชิงวิพากษ์ วรรณกรรมกับสำนึกทางสังคมและนิเวศสำนึก บทบาทของวรรณกรรมในการอนุรักษ์และแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อม “ศาสตร์แห่งพระราชา”กับการพัฒนาที่ยั่งยืน

หลักการทั่วไปในการผลิตอาหารฮาลาล

ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ และ อ.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์

ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้

หลักพื้นฐานของอาหารฮาลาลกับวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา และเศรษฐกิจ หลักการทั่วไปว่าด้วยฮาลาลและหะรอมตามกฏอิสลาม ความสำคัญของมาตรฐาน การกำหนดมาตรฐาน การตรวจรับรองอาหาร ฮาลาลในระดับชาติและนานาชาติ วัตถุดิบและสารเคมีในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล หลักการทั่วไปของวิทยาศาสตร์ฮาลาล มาตรวิทยาและวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล การวิเคราะห์อันตรายด้านฮะรอม การควบคุมจุดวิกฤติ การมาตรฐานฮาลาล ตามมาตรฐานฮาลคิว การจัดการห่วงโซ่อุปทานฮาลาล และการประยุกต์ใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล